ประวัติความเป็นมาของกระบี่กระบอง
เริ่มต้นกำเนิดกระบี่กระบองที่แท้จริงนั้นไม่ทราบแน่ชัด ว่าเริ่มต้น กันตั้งแต่ครั้งไหนและใครเป็นผู้คิดค้นขึ้น เพราะไม่สามารถค้นคว้าจากแหล่ง
ใดได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านครูบาอาจารย์รุ่นเก่า ๆ ที่ได้เล่าเรียนและได้เคยสอนแต่ในทางปฏิบัติอย่างเดียวมิได้ห่วงใยที่จะสั่งสอน ในทางทฤษฎีเลย
ฉะนั้นศิษย์จึงขาดความรู้ในด้านนี้เสียสิ้น แต่ด้วยเหตุที่ไทย เราเป็นนักรบแต่โบราณกาล กระบี่กระบองซึ่งเป็นเกมของนักรบก็น่าจะได้ริเริ่มกัน เป็นเวลานาน
แล้วด้วยเหมือนกัน ท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ยัง เป็นเด็กและเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอในโอกาสที่ท่านได้เป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านก็ได้ทดลองสอนนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2478 ต่อมาจึงได้กำหนดวิชา กระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อปีพ.ศ.2479 นับแต่นั้นมา ได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ บรรดาผู้ที่เล่าเรียนสำเร็จออกไปรับราชการเป็นครูสอนวิชาพลศึกษา ได้พยายามสอนวิชากระบี่กระบองไปเผยแพร่และเป็นที่สนใจของประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้บรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนทั่วไป จึงนับได้ว่า ศิลปะชิ้นนี้นอกจากจะไม่สูญหายไปจากโลกแล้วคงจะเจริญก้าวหน้าหรือแสดงถึง
ความเป็นเจ้าของในวิชาการแขนงนี้ได้ในอนาคต
ใดได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านครูบาอาจารย์รุ่นเก่า ๆ ที่ได้เล่าเรียนและได้เคยสอนแต่ในทางปฏิบัติอย่างเดียวมิได้ห่วงใยที่จะสั่งสอน ในทางทฤษฎีเลย
ฉะนั้นศิษย์จึงขาดความรู้ในด้านนี้เสียสิ้น แต่ด้วยเหตุที่ไทย เราเป็นนักรบแต่โบราณกาล กระบี่กระบองซึ่งเป็นเกมของนักรบก็น่าจะได้ริเริ่มกัน เป็นเวลานาน
แล้วด้วยเหมือนกัน ท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ยัง เป็นเด็กและเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอในโอกาสที่ท่านได้เป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านก็ได้ทดลองสอนนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2478 ต่อมาจึงได้กำหนดวิชา กระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อปีพ.ศ.2479 นับแต่นั้นมา ได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ บรรดาผู้ที่เล่าเรียนสำเร็จออกไปรับราชการเป็นครูสอนวิชาพลศึกษา ได้พยายามสอนวิชากระบี่กระบองไปเผยแพร่และเป็นที่สนใจของประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้บรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนทั่วไป จึงนับได้ว่า ศิลปะชิ้นนี้นอกจากจะไม่สูญหายไปจากโลกแล้วคงจะเจริญก้าวหน้าหรือแสดงถึง
ความเป็นเจ้าของในวิชาการแขนงนี้ได้ในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น